ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาและปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 71 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .32 ถึง .78 และมีค่าความเชื่ออมั่นเท่ากับ .99 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการจัดการเรียนรู้ จำนวน 32 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .42 ถึง .80 และมีค่าความเชื่ออมั่นเท่ากับ .99 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสังพันธ์ และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


พรรณี มนพัทธ์ปริพัตร (2560) ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี  (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

http://www.etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=274&group=20

ความคิดเห็น