ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

 Abstract: งานวิจัยเรื่องการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามภูมิหลังของครูผู้สอน โดยวิธีการศึกษาเชิงสำรวจจาก กลุ่มตัวอย่าง ในเขตอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 273 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ มีค่าความเชื่อมั่น .914 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (0ne - way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’ Method) ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา โดยภาพรวม และรายด้าน ครูมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคลคล ด้านการบริหารงานนักเรียน ด้านการบริหาร ทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ 2) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหาร โรงเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนครูที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were to study and to compare the levels of the Schools participatory management of the instructor opinions in Prathay district. These opinions were classified by the instructor backgrounds. The study was the descriptive research, collecting data from the sample of 273 instructors at schools during 2009 academic year. The research tools were self administrated questionnaires, developed by the researcher, with a reliability index of 0.914. The statistics used for data analysis were the percentage, means, standard deviation, t - test, and One - way ANOVA, with matched pair comparison. The results of the research were as followed ; 1) Overall the Schools Participatory Management in Parthay District, Nakornratchasima Province were at a highest level. When the opinions were considered by individual aspect, they also were highest, priority from high to less, namely, the academic administration, administrative staff, management students, affair administration, and personnel budget. 2) The hypothesis - test revealed that instructors who had different position, held statistically significant difference in school participatory management at .05 level.

มนตรี แก้วสำโรง (2553) การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความคิดเห็น